วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิธีการทำบล็อกหล่อปูนปลาสเตอร์

เริ่มด้วย new year card แบบสุดท้ายของปีนี้ครับ สรุปแล้ว moscot ของ blogก็มีการ์ดปีใหม่ของตัวเองทุกคน อิๆ

ลายอื่นๆที่นี่ครับ อิๆ

เข้าเรื่องดีกว่า (ประโยคประจำของบล็อกนี้)

วันนี้จะว่าถึงเรื่องการทำพิมพ์ครับผม
สืบเนื่องจากเหตุการณ์พิเศษ ทำให้ต้องจับพลัดจับผลูต้องทำของขวัญให้ชาวบ้านเขาอีกแล้ว(โมเดลตัวเองยังเอาไม่รอดเลย)แต่ลักษณะพิเศษของผมคือ ทำให้ชาวบ้านจะเร็วกว่าตัวเอง (แม้ว่าจะไม่มีเวลาก็ตาม) ดังนั้นไม่มีลังเลแล้วครับ
ในสภาวะตอนสิ้นปีที่งานทั้งงานราษฎ และงานหลวง ชนกันให้วุ่นวาย ครั้นจะกลับไปใช้ epoxy ที่เจ้าของบล็อกปลื้ม(แต่ทำช้า) ก็ใช่ที ไอ้ครั้น จะไปใช้งานดินญี่ปุ่นที่ฝึกฝีมืออยู่ ก็ไม่ได้เพราะไม่คุ้นมือ
สุดท้ายแล้วก็ดินน้ำมันนี่แหละครับ (จริงๆแล้วใช้ไม่เก่งเลย)
เมื่อตั้งใจได้แล้วก็จัดแจงทำตามลำดับขั้นตอนร่างแบบ ปั้นแบบขึ้นมา งานนี้ทุ่นเวลา ก็นูนต่ำเช่นเดิมครับกระผม


จินตนาการซะ... ทำเหมือนหรือเปล่าัยังไม่รู้เลย

หลับหูหลับตาปั้น...


ปั้นเสร็จแล้ว... หยาบๆนี่แหละ ไม่มีเวลาแล้ว จะไปเที่ยว..
^_^" ว่าแต่...งวดนี้จะเอาไปทำอะไรฟะ magnet เคยทำไปแล้วงวดที่แล้ว มุขซ้ำไม่เอาๆ
แต่ช่างมันเหอะ ทำพิมพ์มันขึ้นมาก่อนละกันครับ เอาไปใช้อะไรอีกเรื่อง...


จับกั้นพิมพ์ซะ ไม่ทำก็ได้นะครับ แต่คู่มือเขาเขียนไว้ เชื่อไว้ไม่เสียหลาย
(Hobby model ของเขาดีจริง ไม่น่าเจ๊งเลย T_T)


อุปกรณ์ทำพิมพ์ยางพาราของเรา
1. น้ำยางตราคิง ราคาสามสิบบาทถ้วน
2. ผ้าก๊อซ ราคา ห้าบาทไทยแลนด์
3. ภู่กันพังๆ หัวใหญ่หน่อย เอาปลายนิ่มๆหน่อยก็ดี (พังแล้วจะนิ่มได้ไงอ่ะครับท่าน...)

สำคัญเลยคืออันสุดท้ายนี่

ปูนปลาสเตอร์ ของแท้และดั้งเดิม ตราคิง 10 บาทถ้วน

จากนั้นก็เริ่มทำการนำภู่กันจุ่มน้ำยางพารา ละเลงให้ทั่ว ข้อสำคัญคือ อย่านึกว่าเหมือนยาน้ำนะครับ เขย่าขวดก่อนเปิดท่านจะได้ฟองน้ำแถมมา อย่าเขย่าเชียว... ชั้นแรกต้องทาเนียนๆทุกซอกทุกมุม(คู่มือเขาเขียนไว้ Hobby Model ของเขาดีจริงๆ ไม่น่าเจ๊งเลย(รอบสอง))


ทารอบแรก แล้วปล่อยมันแห้ง... ตอนมันแห้งมันจะออกขาวๆเหลืองๆสำหรับชั้นแรกนะครับ รอให้มันแห้งจริงๆ อย่าไปจับเชียวสำหรับชั้นแรก ทาเสร็จแล้ว ภู่กันอย่าลืมแช่น้ำเปล่านะครับ ไม่งั้นภู่กันพังซื้อใหม่จริงๆนะเออ...


พอชั้นแรกแห้งแล้ว ก็ร่ายชั้น2-6 ได้ ค่อยๆรอให้แต่ละชั้นแห้งนะครับ แล้วก็ทาชั้นต่อไป ไม่มีฟองอากาศได้จะดีมาก


พอถึงชั้นที่ 7 เราก็งัดเอาผ้าก๊อซเราออกมา
ทาน้ำยางลงไปก่อนเหมือนเดิม แล้วเอาผ้าก๊อซวาง
แล้วชโลมน้ำยางให้ชุ่มเลย แล้วรอให้มันแห้ง

อันนี้มันยังไม่แห้งนะอย่าไปจับเชียว อิๆ

หลังจากมันแห้งแล้วก็ใช้ปูนปลาสเตอร์ผสมน้ำอัตราส่วน 60/40 เพื่อความแห้งเร็ว เทลงไปทับยางที่ทำ เป็นครอบพิมพ์
บางคนสงสัยว่าทำทำไม (บางคน คือคนไหน..?)
เหตุผลก็คือ Hobby model บอก... เอ้ย ไม่ใช่ อันนี้ในหนังสือไม่ได้บอกไว้
แต่เป็นเทคนิคส่วนบุคคลที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากหมอฟันอีกที(ตอนหล่อปูนทำฟัน)
เจ๊(พี่สาว) ว่าไว้ จะได้เอาไว้เคาะไง..... ไม่งั้น แกไม่มีเครื่องเขย่า(เจ๊เรียกว่าอะไรจำไม่ได้แล้ว) ฟองแกเต็มแน่
"เคาะเอาเอง เมื่อยมือแน่แก..."

ว่าแล้วครอบพิมพ์ก็แห้งพอดี ก็จัดการแกะออกมาแล้วแคะ ดินน้ำมันออกให้หมด เอาไปล้างน้ำผงซักฝอกซะ
ก็จะได้ครอบ และพิมพ์....
แบบนี้...

จากนั้นล่ะ ....

ก็เทปูนสิ...
จับมันประกบเข้าด้วยกัน
เทน้ำเทปูน อัตราส่วนแล้วแต่ชอบใจ 50/50 60/40 40/60 แล้วแต่สไตล์ครับ แต่ขอบอกว่าถ้าปูนเยอะกว่าน้ำแห้ง เร็วนะครับท่าน เคาะไม่ทันฟองตรึม

ว่าแล้วก็เทๆ แล้วเคาะ

ใครทำครอบพิมพ์บางเตรียมแตกได้เลยครับผม... แล้วอย่าลืมหาผ้ามารองล่ะ เดี๋ยวครอบพังหมด...

แล้วร้องเพลงรอ...
แกะพิมพ์
สำเร็จแล้ว...

แล้วตกลงจะเอาไปทำอะไรล่ะ....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น