วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553
การทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์
เรซิ่นเคลือบรูป (ชื่อทางการคือ โพลิเอสเทอร์เรซิ่นชนิดไม่อิ่มตัว หรือ Unsaturated Polyester Resin) เบอร์ KC-228-W
ซึ่งผสมตัวเร่งปฏิกิริยา (Accelerator) หรือ (Promoter) แล้วเป็นพลาสติกเหลวมีหลายสี เช่น แดง ม่วง ใสมีกลิ่นฉุน
ตัวทำให้แข็งหรือตัวเน่งปฏิกิริยา (Catalyst หรือ Hardener) ชื่อทางเคมี MEKP มีลักษณะเหลวใสไม่มีกลิ่น กลิ่นฉุนแรงกัดมือ ระวังอย่าให้เข้าตา
อะซิโตน (Acetone) มีลักษณะของเหลวใสไม่มีสี กลิ่นฉุนแรงกว่าทินเนอร์ ติดไฟง่าย ใช้ล้างโพลิเอสเตอร ์หรือเริซิ่นเคลือบรูป
กรอบรูป (ไม้แผ่น) ใหญ่กว่ารูปภาพ ปรกติใช้ไม้ MDF เป็นไม้ยางพาราชนิดดี หรือใช้ไม้ PB ไม้ยูคาก็ได้
กระดาษลายไม้ หรือลายหน้า ใช้ปิดรอบรูปเพื่อความสวยงาม
รูปโปสการ์ด รูปถ่าย ใบประกาศ หรืออื่นๆที่ต้องการเคลือบ
กาวลาเท็กซ์ เพื่อติดรูป และลายไม้
ฟิล์มไมล่าร์ หนา 70-180 ไมครอน ขนาดใหญกว่าภาพอย่างน้อย 1 นิ้ว
ลูกกลิ้งใช้รีดรูปให้เรียบ และใช้ไล่ฟองอากาศในเรซิ่น
ถ้วยพลาสติก
ไม้กวน
มีดคัตเตอร์
ขอบข้าง มีลายไม้ และสีดำ เป็นสติกเกอร์ ใช้ติดด้านข้างรูป
ดิ้นทอง ใช้ตัดขอบรูป
ไขควง
น๊อต
หูขา
หูแขวน
ขาตั้งพลาสติก
กระดาษกาวย่น ขนาด 10 มิล หรือใหญกว่าด้านข้างแผ่นไม้
กระดาษทรายน้ำ เบอร์ 150
กาวกันซึม
การเตรียมอุปกรณ์เตรียมรูป
รูปที่ใช้ในการทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
รูปที่สามารถเคลือบได้ เช่น รูปถ่าย
รูปที่ต้องการทาน้ำยากันซึมก่อนจึงจะเคลือบได้ เช่นรูปจากหนังสือนิตยาสาร ธนบัตร ใบประกาศนียบัตร รูปโปสเตอร์
การเตรียมไม้
ไม้ที่ใช้ติดรูปเพื่อทำกรอบวิทยาศาสตร์ ได้แก่ไม้ MDF หรือเรียกว่าไม้อัด มีความหนาตั้งแต่ 3 มม. ถึง 9 มม.
เลือกขนาดไม้ให้เหมาะสมกับรูป
ด้านบนหรือด้านข้างจะต้องเรียบไม่ขรุขระหรือเป็นหลุม
วิธีทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์
ติดกระดาษลายไม้กับไม้อัดทั้งสองด้านโดยทากาวที่ไม้อัดตลอดทั้งแผ่นให้เรียบและไม่หนาจนเกินไป นำกระดาษลายที่ตัด
ไว้มาติดลงบนแผ่นไม้โดยใช้ลูกกลิ้ง กลิ้งให้เรียบและไม่มีฟองอากาศ ใช้คัตเตอร์ ตัดส่วนเกินจากไม้ให้ชิดขอบไม้ทุกด้าน
ติดเทปกระดาษย่นหรือเทปใส ที่ขอบของแผ่นไม้ ไม้อัดหนา 10 มม. โดยรอบให้ขอบเทปเสมอผิวด้านบนของแผ่นไม้ที่จะ
ติดรูปพับเทปส่วนเกินไว้ด้านหลังให้แนบติดผิวหน้าไม้ด้านหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยาเรซิ่นเกาะขอบไม้และไหลลงไปเปื้อนด้านหลังรูป
ทากาวลาเท็กซ์ ด้านหลังของรูปให้เสมอกันไม่ต้องมากจนเกินไปเพราะจะทำให้แห้งช้า (รูปที่นำไปทากาวควรรีดให้ตรงไม่โค้ง ถ้ามีขอบเยินควรใช้มีดคัตเตอร์แต่งให้เรียบร้อยก่อน)
ติดรูปที่ทากาวแล้วบนไม้อัดที่เตรียมไว้ ใช้ลูกลิ้งกลิ้งให้เรียบและไม่มีฟองอากาศ
ติดดิ้นเงินดิ้นทองรอบรูปทั้ง 4 ด้าน ตามต้องการควรติดให้ชิดขอบรูป
ทาน้ำยากันซึมในกรณีที่ไม่ใช่รูปถ่าย ทาน้ำยากันซึมควรทาประมาณ 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งจะต้องทิ้งให้แห้งเสียก่อน
นำรูปที่เตรียมเรียบร้อยแล้ววางลงบนที่รองสูงจากพื้นประมาณ 1-2นิ้ว ควรปูกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยาเรซิ่นเกาะที่ขอบไม้และไหลลงไปเลอะที่พื้น
เทเรซิ่นเคลือบรูป KC-288 ลงในถ้วยพลาสติกที่เตรียมไว้ประมาณ 30-40 ซีซี หยดตัวทำให้แข็งลงไปประมาณ 0.5% หรือประมาณ 3-4 หยด (เรซิ่นประมาณ 1 ซีซี ต่อพื้นผิว 7-8 ตร.ซ.ม.) ใช้ไม้กวนให้เข้ากัน โดยกวนบริเวณขอบถ้วยด้วยอย่ากวนนานเกินไปเรซิ่นจะเป็นวุ้นแข็งตัวเสียก่อน ไม่เกิน 1 นาที
ทิ้งเรซิ่นไว้ซักครู่ เพื่อให้ฟองอากาศลอยออก จึงเทเรซิ่นที่ผสมแล้วลงตรงกลางรูปนำแผ่นฟิล์ม ไมล่าร์ที่ขึงไว้กับเฟรม วางทับลงบนน้ำยาเรซิ่น แล้วใช้ลูกกลิ้ง กลิ้งบนแผ่นฟิล์ม ให้น้ำยาเรซิ่นวิ่งไปจนไม่มีฟองอากาศ(การกลิ้งจากกลางรูปออกไปทั้ง 4 ด้าน และออกแรงกดพอประมาณ ใช้เวลาในการกลิ้งไม่ควรเกิน 6 นาที)
ทิ้งเรซิ่นให้แห้งสนิทประมาณ 2-3 ชั่วโมง หรือสังเกตุจากรซิ่นที่ย้อยติดด้านล่างดูจะแข็งคล้ายเม็ดข้าวสาร แห้ง หรือทดลองหยิกดูจะหยิกไม่แตก หากยังนิ่มแสดงว่ายังไม่แข็งพอ เมื่อเรซิ่นแข็งตัวแล้วให้ใช้ปากกาเมจิกสีดำทำเครื่องหมายที่มุมทั้งสี่ เพื่อที่จะได้นำฟิล์มไมล่าร์ไปใช้ในครั้งต่อไป ได้โดยสะดวกขึ้น
เมื่อเคลือบครั้งที่หนึ่งแล้วจะเคลือบอีกกี่ทีก็ได้ แต่ต้องใช้กระดาษทรายน้ำชนิดหยาบปานกลางเบอร์ 120-140 ลูบบริเวณขอบที่เป็นลายไม้ผิวหยาบ อย่าขัดบริเวณตรงกลางรูปเพื่อให้เรซิ่นเกาะติดแน่นกับ เรซิ่นที่เคลือบครั้งแรก ผิวที่ขัดจะกลายเป็นฝ้าสีขาวอย่าตกใจเพราะเมื่อเรซิ่นครั้งที่ 2 เคลือบทับลงไปจะใสเหมือนเดิม
ดึงเทปและเรซิ่นที่ติดขอบออก
ใช้กระดาษทรายชนิดหยาบปานกลางพันรอบแท่งไม้รูปสี่เหลี่ยมขัดขอบให้เรียบเสมอกัน ขณะขัดไม่ควรใช้นิ้วมือกดหรือจับผิวที่เคลือบเรซิ่น เพราะอาจเกิดรอยนิ้วมือได้อันเนื่องมาจากมือสกปรก (ทางที่ดีควรใช้กระดาษหรือเทปปิดทับผิวหน้าก่อนขัด)
ติดขอบข้างรอบรูปทั้ง 4 ด้านให้เรียบร้อย ทำความสะอาด
ติดขาตั้งหรือโซ่แขวนกับกรอบรูป
ข้อควรระวัง
ฮาร์ดเดนเนอร์ หรือตัวทำให้แข็ง ถ้าถูกผิวหนังควรใช้สบู่ล้างดีกว่าผงซักฟอก เพราะเป็นกรดชนิดหนึ่ง
น้ำยาเรซิ่นมีอายุการใช้งานประมาณ 1-2 เดือน ไม่ควรเก็บไว้ที่ร้อนจัด ควรเก็บไว้ที่ทึบแสง อุณหภูมิประมาณ 20-30องศาเซลเซียส
การผสมเรซิ่นกับตัวทำให้แข็ง ถ้าอากาศร้อนควรลดปริมาณตัวทำให้แข็งลง ถ้าอากาศเย็นควรเพิ่มประมาณตัวทำให้แข็งมากขึ้น
การคนน้ำยาไม่ทั่วถึง จะทำให้เรซิ่นแข็งตัวผสมไม่เสมอกัน
การเก็บและทำความสะอาดแผ่นฟิล์มไมล่์าร์ ระวังอย่าให้แผ่นฟิล์มหักหรือเป็นรอย
รูปถ่ายที่เป็นกระดาษอัดรูป ยกเว้นกระดาษพิมพ์ต่างๆ ถ้าเปื้อนกาวหรือลอยนิ้วมือใช้ทินเนอร์เช็ดทำความ สะอาดได้ แต่อย่าให้ถูกกระดาษไม้เพราะจะทำให้กระดาษลายไม้ลอกทันที
แหล่งอ้างอิง : http://www.vittayapun.com/
การทำโดเค็มเพื่อใช้ในการทำแบบจำลอง
ส่วนผสมโดเค็ม
1 แป้งเอนกประสงค์ 230 กรัม
2 เกลือ 200 กรัม
3 น้ำ 1 ถ้วยตวง
ตามสูตรนี้ ใช้ชามผสมขนาดประมาณ 23 ซม. หากเติมน้ำมันพืชลงไป 1 ช้อนชา จะทำให้ส่วนผสมจางลง ในขณะที่เติมน้ำลงไป 1 ช้อนชาจะทำให้ส่วนผสมมีความหยือหยุ่นมากขึ้น และตามสูตรสามารถปรับอัตราส่วนได้ตามต้องการ
วิธีทำ
ผสมแป้ง เกลือ และน้ำเพียงครึ่งเดียวเข้าด้วยกันในอ่างผสม นวดส่วนผสมให้เข้ากันค่อยๆเติมน้ำและนวดจนแป้งเนียน ต้องระวังอย่าเติมน้ำมากเกินไปจะทำให้โดไม่อยู่ตัว
นำโดออกจากอ่างผสมแล้วนวดต่ออีก 10 นาที ก็สามารถนำมาใช้งานได้เลย แต่ทางที่ดีควรนำมาเก็บในภาชนะปิดเช่น กล่องพลาสติกที่มีฝาปิด อีก 30 นาที จึงนำออกมาใช้ เมื่อทำชิ้นงานเสร็จก็นำเข้าอบที่ อุณหภูมิ 120 องศาเซนติเกรด หรือ 250 องศาฟาเรนไฮด์จนกระทั้งแห้งและแข็งตัว
เมื่อต้องการนำโดที่เก็บไว้ออมาใช้ให้นำออกมาแผ่ออกโดยใช้ลูกกลิ้งหรือขวดก็ได้ การตัดก็ใช้มีดคมๆตัด หรือใช้เครื่องมือที่ใช้ในการทำขนมก็ได้
การทำโดเค็มนี้จะเป็นวัสดุเบื้องต้นในการทำงานสร้างสรรต่างๆได้มากมาย ช่วยให้ประหยัด สามารถทำขึ้นใช้เองได้ไม่ต้องไปหาซื้อวัสดุการขึ้นแบบที่ราคาแพง ลองทำดูนะครับ.
วิธีการทำบล็อกหล่อปูนปลาสเตอร์
ลายอื่นๆที่นี่ครับ อิๆ
เข้าเรื่องดีกว่า (ประโยคประจำของบล็อกนี้)
วันนี้จะว่าถึงเรื่องการทำพิมพ์ครับผม
สืบเนื่องจากเหตุการณ์พิเศษ ทำให้ต้องจับพลัดจับผลูต้องทำของขวัญให้ชาวบ้านเขาอีกแล้ว(โมเดลตัวเองยังเอาไม่รอดเลย)แต่ลักษณะพิเศษของผมคือ ทำให้ชาวบ้านจะเร็วกว่าตัวเอง (แม้ว่าจะไม่มีเวลาก็ตาม) ดังนั้นไม่มีลังเลแล้วครับ
ในสภาวะตอนสิ้นปีที่งานทั้งงานราษฎ และงานหลวง ชนกันให้วุ่นวาย ครั้นจะกลับไปใช้ epoxy ที่เจ้าของบล็อกปลื้ม(แต่ทำช้า) ก็ใช่ที ไอ้ครั้น จะไปใช้งานดินญี่ปุ่นที่ฝึกฝีมืออยู่ ก็ไม่ได้เพราะไม่คุ้นมือ
สุดท้ายแล้วก็ดินน้ำมันนี่แหละครับ (จริงๆแล้วใช้ไม่เก่งเลย)
เมื่อตั้งใจได้แล้วก็จัดแจงทำตามลำดับขั้นตอนร่างแบบ ปั้นแบบขึ้นมา งานนี้ทุ่นเวลา ก็นูนต่ำเช่นเดิมครับกระผม
จินตนาการซะ... ทำเหมือนหรือเปล่าัยังไม่รู้เลย
หลับหูหลับตาปั้น...
ปั้นเสร็จแล้ว... หยาบๆนี่แหละ ไม่มีเวลาแล้ว จะไปเที่ยว..
^_^" ว่าแต่...งวดนี้จะเอาไปทำอะไรฟะ magnet เคยทำไปแล้วงวดที่แล้ว มุขซ้ำไม่เอาๆ
แต่ช่างมันเหอะ ทำพิมพ์มันขึ้นมาก่อนละกันครับ เอาไปใช้อะไรอีกเรื่อง...
จับกั้นพิมพ์ซะ ไม่ทำก็ได้นะครับ แต่คู่มือเขาเขียนไว้ เชื่อไว้ไม่เสียหลาย
(Hobby model ของเขาดีจริง ไม่น่าเจ๊งเลย T_T)
อุปกรณ์ทำพิมพ์ยางพาราของเรา
1. น้ำยางตราคิง ราคาสามสิบบาทถ้วน
2. ผ้าก๊อซ ราคา ห้าบาทไทยแลนด์
3. ภู่กันพังๆ หัวใหญ่หน่อย เอาปลายนิ่มๆหน่อยก็ดี (พังแล้วจะนิ่มได้ไงอ่ะครับท่าน...)
สำคัญเลยคืออันสุดท้ายนี่
ปูนปลาสเตอร์ ของแท้และดั้งเดิม ตราคิง 10 บาทถ้วน
จากนั้นก็เริ่มทำการนำภู่กันจุ่มน้ำยางพารา ละเลงให้ทั่ว ข้อสำคัญคือ อย่านึกว่าเหมือนยาน้ำนะครับ เขย่าขวดก่อนเปิดท่านจะได้ฟองน้ำแถมมา อย่าเขย่าเชียว... ชั้นแรกต้องทาเนียนๆทุกซอกทุกมุม(คู่มือเขาเขียนไว้ Hobby Model ของเขาดีจริงๆ ไม่น่าเจ๊งเลย(รอบสอง))
ทารอบแรก แล้วปล่อยมันแห้ง... ตอนมันแห้งมันจะออกขาวๆเหลืองๆสำหรับชั้นแรกนะครับ รอให้มันแห้งจริงๆ อย่าไปจับเชียวสำหรับชั้นแรก ทาเสร็จแล้ว ภู่กันอย่าลืมแช่น้ำเปล่านะครับ ไม่งั้นภู่กันพังซื้อใหม่จริงๆนะเออ...
พอชั้นแรกแห้งแล้ว ก็ร่ายชั้น2-6 ได้ ค่อยๆรอให้แต่ละชั้นแห้งนะครับ แล้วก็ทาชั้นต่อไป ไม่มีฟองอากาศได้จะดีมาก
พอถึงชั้นที่ 7 เราก็งัดเอาผ้าก๊อซเราออกมา
ทาน้ำยางลงไปก่อนเหมือนเดิม แล้วเอาผ้าก๊อซวาง
แล้วชโลมน้ำยางให้ชุ่มเลย แล้วรอให้มันแห้ง
อันนี้มันยังไม่แห้งนะอย่าไปจับเชียว อิๆ
หลังจากมันแห้งแล้วก็ใช้ปูนปลาสเตอร์ผสมน้ำอัตราส่วน 60/40 เพื่อความแห้งเร็ว เทลงไปทับยางที่ทำ เป็นครอบพิมพ์
บางคนสงสัยว่าทำทำไม (บางคน คือคนไหน..?)
เหตุผลก็คือ Hobby model บอก... เอ้ย ไม่ใช่ อันนี้ในหนังสือไม่ได้บอกไว้
แต่เป็นเทคนิคส่วนบุคคลที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากหมอฟันอีกที(ตอนหล่อปูนทำฟัน)
เจ๊(พี่สาว) ว่าไว้ จะได้เอาไว้เคาะไง..... ไม่งั้น แกไม่มีเครื่องเขย่า(เจ๊เรียกว่าอะไรจำไม่ได้แล้ว) ฟองแกเต็มแน่
"เคาะเอาเอง เมื่อยมือแน่แก..."
ว่าแล้วครอบพิมพ์ก็แห้งพอดี ก็จัดการแกะออกมาแล้วแคะ ดินน้ำมันออกให้หมด เอาไปล้างน้ำผงซักฝอกซะ
ก็จะได้ครอบ และพิมพ์....
แบบนี้...
จากนั้นล่ะ ....
ก็เทปูนสิ...
จับมันประกบเข้าด้วยกัน
เทน้ำเทปูน อัตราส่วนแล้วแต่ชอบใจ 50/50 60/40 40/60 แล้วแต่สไตล์ครับ แต่ขอบอกว่าถ้าปูนเยอะกว่าน้ำแห้ง เร็วนะครับท่าน เคาะไม่ทันฟองตรึม
ว่าแล้วก็เทๆ แล้วเคาะ
ใครทำครอบพิมพ์บางเตรียมแตกได้เลยครับผม... แล้วอย่าลืมหาผ้ามารองล่ะ เดี๋ยวครอบพังหมด...
แล้วร้องเพลงรอ...
แกะพิมพ์
สำเร็จแล้ว...
แล้วตกลงจะเอาไปทำอะไรล่ะ....
วิธีทำตุ๊กตาจากปูนปลาสเตอร์
การทำพิมพ์สำหรับหล่อปูนปลาสเตอร์ มี 2 ส่วนด้วยกันคือ 1. พิมพ์ใน (สำหรับหล่อ ตัวตุ๊กตา เป็นชิ้นงานที่ต้องการ) 2. พิมพ์นอก (สำหรับพยุง ตัวพิมพ์ใน ให้ได้รูปลักษณ์และให้อยู่ในสถานะที่เป็นมาตรฐาน คือ ตั้งตรง ไม่เอนซ้าย เอนขวา เบี้ยวไป บูดมา ขณะที่รอแห้ง)อุปกรณ์ ที่ใช้ทำพิมพ์ มีดังนี้ 1. หุ่น (ก็ตุ๊กตา ตัวที่จะมาเป็นต้นแบบอ่ะ)
2. ยางพารา หรือ ซิลิโคน +น้ำยาตัวเร่ง (ถ้าใช้ซิลิโคน จะได้พิมพ์ที่เหนียวทนทานกว่า ยางพารามันเปลื่อยง่าย..หล่อไม่กี่ทีก็ไป...และ)
3. ดินน้ำมัน (เยอะๆ หน่อยก็ดี)
4. พู่กัน เก่าๆ (ที่ตัดใจทิ้งแล้ว)การทำพิมพ์ใน ระบายยางพารา ไปตามตัวหุ่นโดยเก็บรายละเอียดให้ทั่วและให้มีความหนาพอสมควร เว้นฐานตั้ง ไว้เป็นช่องเทปูน แล้วทิ้งไว้ให้แห้งการทำพิมพ์นอก
1. ก่อดินน้ำมันบนแผ่นพลาสติก หรือกระดาษแข็งที่ปูรองพื้นไว้ ให้มีลักษณะเป็นบ่อล้อม ตัวหุ่น กะให้มีรัศมีห่างจากตัวหุ่น ประมาณ 2 cm และสูงประมาณเท่าตัวหุ่น
2. นำหุ่นที่ระบายยางพาราเป็นพิมพ์ใน ที่แห้งสนิทแล้วมาติดดินน้ำมัน ให้เป็นสันสูง 2cm แบ่งครึ่งซ้าย-ขวา ให้ยาวต่อเนื่องตลอดตัว
3. นำผลจากข้อ 2 ไปวางในบ่อ ข้อ1 ให้ได้กึ่งกลาง และผสมปูนในสัดส่วนที่พอเหมาะเทลงไปในบ่อให้ล้อมรอบเต็มตัวหุ่น แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง ตอนนี้เราก็ได้ พิมพ์ใน เป็นยางไว้สำหรับหล่อปูนทำชิ้นงาน และได้ พิมพ์นอก เป็นปูนที่แยกเป็นซีก ซ้าย-ขวา ไว้สำหรับประกบ พิมพ์ใน ให้ได้รูป และ ช่วยพยุงชิ้นงานให้ตั้งตรงแล้ว งั้นเรามาดูการหล่อ เลยวิธีการหล่อ
1. ทำการผสมปูน โดย เทน้ำใส่ภาชนะก่อนแล้วตามด้วยปูน ใช้มือคนให้เข้ากัน และพยามไล่ฟองอากาศด้วย ในงวดแรกควรจะผสมให้เหลวเพื่อปูนจะได้ไหลไปเติมเต็มตามส่วนที่เป็นล่องลึก ได้ดี
2. เมื่อส่วนผสมเข้ากันดี และเริ่มรู้สึกร้อนแสดงว่าปูนกำลังจะ set ตัว ให้เทปูนใส่พิมพ์ใน แล้วหมุนกลิ้งตัว พิมพ์ใน ไปให้รอบเพื่อให้ปูนไหลไปหล่อเลี้ยงตามส่วนต่างๆให้ทั่วพิมพ์ (ระวังฟองอากาศไว้ให้ดี.. พยามไล่..ไล่..ไล่ ให้ได้หมดจดเลยนะ..)
3. ผสมปูนงวดที่ 2 ที่ 3 เพื่อเทให้เต็มพิมพ์ใน
4. นำพิมพ์นอกทั้งซ้าย-ขวา มาประกบตัวพิมพ์ในที่หล่อปูนเสร็จแล้ว และรอให้แห้ง
5. แยกพิมพ์นอกซ้าย-ขวาออก แล้วแกะตุ๊กตาจากพิมพ์ใน(เหมือนถอดเสื้ออ่ะ!) ด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะส่วนที่ยื่น ส่วนที่เกินจากระนาบ
6. ถ้าเห็นว่าชิ้นงานมีความไม่เรียบเนียนเล็ก..เล็ก ที่เป็นผลจากฟองอากาศ(อย่างสุดวิสัย) เราอาจใช้กระดาษทรายละเอียดชัดถูเบาๆ เพื่อลบรอยได้ ทีนี้เราก็จะได้ตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์ที่สำเร็จแล้ว